top of page
Search
Writer's picturePaint You Studio

Toxic Pigments

Updated: Nov 6, 2022


จากบทความที่เคยเขียนไว้ เรื่อง “สีน้ำมัน...เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่?” ได้สรุปไว้ว่าสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพคนวาดสีน้ำมัน มี 2 อย่าง คือ 1. มีเดียม 2. สีที่เป็นพิษ


บทความนี้จึงขอขยายความต่อในหัวข้อ “Toxic pigments” หรือสีที่เป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งมีอยู่หลายตัว แต่ตัวที่เด่นๆ เรียงลำดับจากพิษมากไปหาน้อย มีดังนี้ 1. Lead White 2. Cadmium 3. Cobalt


1. Lead White (เลด-ไวท์)

Pigment : PW1 สารพิษ : ตะกั่ว คุณสมบัติ : กึ่งทึบแสง มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น Flake white, Cremnitz white ทั้งหมดคือสีชนิดเดียวกัน ข้อดี สีขาวตะกั่ว เป็นสีที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยคุณสมบัติระดับเทพ คือ มีความทนทานสูง มีสีโทนอุ่นเหมาะสำหรับใช้วาดคน เป็นสีขาวกึ่งทึบแสง ไม่ทึบเหมือน Titanium White หรือโปร่งเหมือน Zinc White เรียกว่ามี coverage อยู่ในระดับกลางๆ พอดี แถมยังแห้งเร็วเหมาะกับการลงรองพื้น หรือเขียนสีหนาแบบ Impasto ก็ได้

ข้อเสีย มีราคาแพง หาซื้อยาก และควรระวังในการใช้ เพราะสารตะกั่วจัดเป็นโลหะหนักที่มีพิษต่อระบบประสาท ศิลปินในอดีตที่เพี้ยนๆ หรือมีอาการทางจิตก็มาจากพิษสารตะกั่วนี่เอง การใช้สีที่มีสารตะกั่ว...มีข้อควรระวังคือ - ล้างมือสม่ำเสมอ - ห้ามกินสี - ห้ามสูดดมฝุ่นละอองจากสี เช่น การซื้อ Dry Pigment มาผสมทำสีน้ำมันเอง หรือการขัดภาพสีน้ำมันที่แห้งแล้วด้วยกระดาษทราย กิจกรรมพวกนี้ทำให้เกิดฝุ่นละอองที่สามารถผ่านทางลมหายใจเข้าไปสะสมในร่างกายได้ ส่วนสีน้ำมันจากหลอดนั้นไม่เป็นอันตราย เพราะสีได้ผสมกับน้ำมันเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ

- ห้ามสัมผัสสีบริเวณที่เป็นแผล เพราะสารตะกั่วสามารถเข้าสู่ร่างกายทางกระแสเลือดได้ ศิลปินบางท่านจึงใส่ถุงมือไว้เสมอ เพราะบางครั้งเราไม่รู้ว่านิ้วเรามีแผลเล็กๆหรือไม่ สีที่ใช้แทน Lead White เพื่อเลี่ยงสารพิษ : ที่นิยมคือ Titanium - Zinc White เป็นการผสมระหว่างความทึบของไทเทนียมและความโปร่งของซิงค์ เพื่อเลียนแบบ Lead White อย่างไรก็ตามการผสมผสานนี้จะได้สีขาวโทนเย็น ไม่ใช่โทนอุ่นแบบขาวตะกั่ว และตัว Zinc White เองก็สร้างปัญหาที่น่าปวดหัว เพราะ Zinc White (PW4) มีผลทำให้ภาพสีน้ำมันเปราะและหลุดร่อนก่อนวัยอันควร จนมีผู้ผลิตบางรายเลิกใช้เม็ดสีตัวนี้ไปแล้ว ที่น่าสนใจอีกตัวคือ Ceramic White ของยี่ห้อ Holbein ซึ่งเป็นสีสูตรเฉพาะที่แลปของโฮลบายน์คิดขึ้นมาเอง แต่ด้วยความที่เป็นสีชนิดใหม่ จึงไม่มีข้อมูลเรื่องความทนทานและการทนต่อแสงมากนัก

-------------

2. Cadmium

สารพิษ : แคดเมี่ยม คุณสมบัติ : ทึบแสง ความเข้มสี : เข้มมาก ข้อดี แคดเมี่ยมเป็นเม็ดสีทึบแสง มีความทนต่อแสงสูง มีสีเข้มมากแต่เมื่อผสมกับสีขาวแล้วจะลดความสดลงอย่างเห็นได้ชัด ไม่เหมือนเม็ดสีสังเคราะห์ที่ผสมขาวแล้วสียังสดอยู่

ข้อเสีย มีราคาแพง และควรระวังในการใช้เพราะแคดเมี่ยมเป็นสารก่อมะเร็ง อย่างไรก็ตามพิษของ แคดเมี่ยมจากสีน้ำมันจัดว่าน้อยมาก...ถ้าเทียบกับพิษของแคดเมี่ยมจากการสูบบุหรี่ อ้อ จากข่าวฝุ่น PM2.5 ได้พบว่ามีแคดเมี่ยมและสารหนูลอยปนอยู่ในอากาศด้วย ตรงนี้อันตรายกว่าใช้สีแคดเมี่ยมอีกนะคะ ข้อควรระวังในการใช้แคดเมี่ยมจะเหมือนกับสารตะกั่วค่ะ สีที่ใช้แทน Cadmium เพื่อเลี่ยงสารพิษ : ปัจจุบันในยุโรปมีแนวโน้มที่จะแบนการใช้ตะกั่วและแคดเมียมในการผลิตสีแล้ว ทำให้บางแบรนด์พยายามคิดค้นสีน้ำมันสูตรใหม่ที่ไม่ต้องใช้แคดเมียมอีกต่อไป โดยสีที่ทำเลียนแบบแคดเมียมมักจะใช้ชื่อว่า Cadmium Free อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีเม็ดสีเดี่ยวใดๆ ที่ทดแทนคุณสมบัติของแคดเมียมได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นความทึบแสง ความคงทนต่อแสงในระดับสูง และคุณสมบัติการผสมสีที่ได้สีนวลตานิดๆ ไม่สดเดินไป ดังนั้นถ้าต้องการเลียนแบบคุณสมบัติทั้งหมดของ Cadmium จะต้องใช้เม็ดสีผสม ไม่ใช่เม็ดสีเดี่ยว (Single pigment) อย่างไรก็ตามศิลปินส่วนใหญ่ยังนิยมสี Single Pigment มากกว่า แคดเมี่ยมจึงเป็นตัวเลือกหลักของศิลปินอยู่ดี เม็ดสีที่นำมาใช้แทนแคดเมี่ยม มีหลายตัวเช่น - Cadmium Yellow แทนด้วย Bismuth Yellow (PY184) ซึ่งเป็นสีเหลืองออกเขียว ค่อนข้างทึบแสง สีจะออกเขียวกว่า Cadmium Yellow - Cadmium Orange / Cadmium Red แทนด้วยเม็ดสีประเภท Pyrrole ซึ่งเป็นสีกึ่งทึบแสงและมีราคาแพงพอๆ กับแคดเมี่ยมเลยทีเดียว ถ้าอยากเลียนแบบ Cadmium จริงๆ บางแบรนด์จะผสมเม็ดสีอื่นเพื่อเพิ่มความทึบและลดความสดลงไปด้วย -------------

3. Cobalt

สารพิษ : โคบอลต์ คุณสมบัติ : ทึบแสง / กึ่งทึบแสง ความเข้มสี : ปานกลางถึงต่ำ ข้อดี : Cobalt เป็นเม็ดสีทึบแสงหรือกึ่งทึบแสง มีความเข้มสีปานกลางไปจนถึงต่ำ เมื่อผสมกับสีขาวจะลดความสดลงไปมากแต่จะได้สีที่นวลตาแทน เหมาะในการเขียนภาพที่ต้องการสีที่ดูธรรมชาติ

Cobalt พบได้หลายเฉดสี เช่น ฟ้า-เขียว-ม่วง มีหลายชนิด ได้แก่

- Cobalt blue (PB28)

- Cerulean blue (PB35)

- Cobalt green (PG19)

- Cobalt turquoise (PG50)

- Cobalt Violet (PV14) เป็นต้น ข้อเสีย :

มีราคาแพง โดยเฉพาะ Cobalt Violet ที่เป็นสีราคาแพงที่สุดของแต่ละยี่ห้อ โคบอลต์เป็นโลหะหนักที่มีพิษสะสมในร่างกายได้ แต่พิษของโคบอลต์จากสียังถือว่าน้อยถ้าเทียบกับตะกั่วและแคดเมี่ยม ข้อควรระวังในการใช้โคบอลต์เป็นเช่นเดียวกับสารตะกั่วค่ะ สีที่ใช้แทน Cobalt เพื่อเลี่ยงสารพิษ :

- Cobalt Blue แทนด้วย Cobalt Blue Hue

หรือ Pthalo Blue(PB15) + Ultramarine Blue(PB29) + Whiteฃ

ส่วนผสมนี้จะให้สีที่สดแหลมกว่า ไม่นวลตาเหมือน Cobalt แท้


- Cerulean Blue แทนด้วย Cerulean Blue Hue

หรือ Pthalo Blue(PB15) + White

ส่วนผสมนี้จะให้สีที่สดแหลมกว่า ไม่นวลตาเหมือน Cobalt แท้


- Cobalt Turquoise แทนด้วย Pthalo Blue(PB15) + Pthalo Green(PG7) + White

ส่วนผสมนี้จะให้สีที่สดแหลมกว่า ไม่นวลตาเหมือน Cobalt แท้


- Cobalt Violet แทนด้วย Manganese Violet(PV16)

เม็ดสีตัวนี้จะแดงกว่าและเข้มกว่าม่วงโคบอลต์เล็กน้อย


---

สำหรับแอดมินเองใช้ Toxic Pigments ทั้งสามตัวเลยค่ะ (555) ยกเว้น Lead White ที่ใช้น้อยเพราะสารตะกั่วจะอันตรายกว่าเพื่อน ยังไงก็ตามจากข่าวฝุ่น PM2.5 ได้พบว่ามีโลหะหนักอย่างแคดเมี่ยม และสารหนู ลอยปนอยู่ด้วย ดีไม่ดีอันนี้อันตรายกว่าใช้สีเป็นพิษอีกนะคะ ดูแลสุขภาพด้วยนะคะทุกท่าน


647 views0 comments

Commentaires


bottom of page